สวัสดีเพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทุกคน หลังจากผ่านมรสุมความยากของบทเรียนเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิงกันไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องมาทำข้อสอบวัดระดับความเข้าใจกันสักหน่อย สูดหายใจลึก ๆ แล้วไปทำพร้อมกันเลย
เพื่อน ๆ สามารถดูวิดีโอการสอนเรื่องอิเหนาแบบจัดเต็มได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ดาวน์โหลดที่แบนเนอร์ด้านล่างได้เลย
1. จุดประสงค์ในการแต่งเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง คืออะไร- เพื่อใช้สำหรับแสดงละครนอก
- เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน
- เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางภาษา
- เพื่อให้ความรู้กับประชาชนในการสู้รบ
- เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๒
ตอบ 2. เพื่อใช้สำหรับแสดงละครใน เพราะใช้ในการแสดงในวัง และผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน
2. ลักษณะคำประพันธ์ในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง คือข้อใด
- กลอนนิทาน
- กลอนสุภาพ
- กลอนเสภา
- กลอนบทละคร
- กลอนดอกสร้อย
ตอบ 4. กลอนบทละคร เพราะใช้สำหรับการแสดงละครใน ขึ้นวรรคแรกด้วยคำว่า เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป
3. ตัวละครตัวใดไม่ได้อยู่ในราชวงศ์อสัญแดหวา
- ท้าวกุเรปัน
- ท้าวดาหา
- ท้าวกะหมังกุหนิง
- อิเหนา
- บุษบา
ตอบ 3. ท้าวกะหมังกุหนิง เพราะเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์กะหมังกุหนิง
“...แต่การศึกครั้งนี้ไม่ควรเป็น เกิดเข็ญเพราะลูกอัปลักษณ์
จะมีคู่ผู้ชายก็ไม่รัก จึงหักให้สาสมใจ...”
4. บทร้อยกรองนี้ผู้กล่าวมีความประสงค์ใด- ระบายความน้อยใจ
- อ้อนวอนขอความเห็นใจ
- ตัดพ้อต่อว่าให้เห็นว่าแค้นใจ
- ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด
- เยาะเย้ยอีกฝ่ายให้เจ็บใจ
ตอบ 4. ประชดประชันด้วยความเจ็บปวด เป็นคำพูดของท้าวดาหาที่ประชดอิเหนาที่ไม่มาแต่งงานกับบุษบา
5. ข้อใดเป็นทรรศนะเกี่ยวกับผู้หญิงที่ไม่ได้สะท้อนจากเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
- ผู้หญิงงามเป็นชนวนของสงคราม
- ผู้หญิงที่แย่งสามีผู้อื่นเป็นที่น่ารังเกียจ
- ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี
- ผู้หญิงที่เป็นม่ายขันหมากย่อมได้รับความอับอาย
- ผู้หญิงที่ดีต้องเชื่อฟังคำสั่งของพ่อแม่
ตอบ 3. ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นสมบัติของสามี ไม่ปรากฏในตอนดังกล่าว
6. เหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา จึงได้รับการ ยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดแห่งกลอนบทละครรำ
- ใช้ภาษาสละสลวย เสริมจินตนาการ
- แฝงคุณค่าด้านคุณธรรมและจริยธรรม
- เนื้อหาสอดคล้องกับการแสดงนาฏศิลป์
- การดำเนินเรื่องดีเด่น
- ถูกทุกข้อ
ตอบ 5. ถูกทุกข้อ ด้วยเหตุผลหลายข้อประกอบกัน
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับละครใน
- ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง
- ผู้แสดงมีทั้งนางใน และชาวบ้าน
- ผู้แสดงเป็นชายและหญิงที่อยู่ในพระราชวัง
- เป็นการแสดงที่ให้ประชาชนเข้ามาชมภายในพระราชวัง
- เป็นละครที่แสดงในวงจำกัดเท่านั้น
ตอบ 1. ผู้แสดงล้วนเป็นผู้หญิง เป็นนิยามที่สำคัญของละครใน
8. “...ถึงว่ากษัตริย์ทั้งสี่กรุง จะมาช่วยรบพุ่งเป็นศึกใหญ่...”
ข้อใดไม่ตรงความหมายกับคำที่พิมพ์ ตัวหนา
- ดาหา
- มะเดหวี
- กาหลัง
- สิงหัดส่าหรี
- กุเรปัน
ตอบ 2. มะเดวี เป็นชื่อตำแหน่งตามลำดับ มเหสีลำดับที่ 2 ของกษัตริย์ชวา
นอกจากข้อสอบเรื่องอิเหนาแล้ว StartDee ยังมีข้อสอบภาษาไทยอีกเยอะในบล็อกของเรา อย่างเช่น ข้อสอบภาษาไทย เรื่อง การใช้คำราชาศัพท์ นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังอ่านวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ ได้อีกนะ คลิกเลือกที่ลิสต์ด้านล่างได้เลย