โจทย์เคมี เรื่อง เลขนัยสำคัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

เลขนัยสำคัญ-โจทย์เคมี-1

หากเราไม่ใช่เซียนตัวเลข ที่ได้เกรดวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เยอะ แต่ก็ดันไม่เก่งท่องจำ เลยทำให้ชีววิทยาและสังคมคะแนนออกมาไม่ค่อยสูงอีก ถ้าเพื่อน ๆ กำลังประสบปัญหานี้ ลองหันมาเอาดีทางเคมีดูซิจ้ะ เพราะเป็นวิชาที่มีทั้งการคำนวณ อาศัยความจำ และความเข้าใจปะปนกันไปแบบพอดี ๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นเซียนก็สามารถทำคะแนนให้ดีได้ ว่าแล้วก็ลองไปทำโจทย์วิชาเคมี เรื่องเลขนัยสำคัญกันเลย 

แต่ถ้าเพื่อน ๆ อยากทำโจทย์เคมีมากกว่านี้ หรืออยากได้วิธีทำโจทย์หรือตีโจทย์แบบแม่นเป๊ะเวอร์ รีบดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee เลยจ้า

Banner-Green-Standard

1. จำนวนตัวเลขของนักเรียนคนใดต่อไปนี้ที่มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว
  1. น้อยหนึ่งวัดความยาวของเส้นเชือกได้ความยาวเท่ากับ 23.05 เซนติเมตร
  2. อิงกายกำลังเดินทางไปเที่ยวที่ต่างจังหวัดสังเกตป้ายบอกราคาน้ำมันระบุว่า 10.95 บาทต่อลิตร
  3. แก้วฟ้าทำโจทย์วิชาคณิตศาสตร์พบว่าผลลัพธ์ที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.0758
  4. ผกากรองนับจำนวนเหรียญในกระปุกออมสิน โดยนับได้จำนวนทั้งหมด 710.50 บาท

 

เฉลย: ข้อ C

จากโจทย์ต้องการทราบว่า “จำนวนตัวเลขของนักเรียนคนใดต่อไปนี้ที่มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว” ดังนั้นเราจะต้องมาพิจารณาจำนวนตัวเลขของนักเรียนแต่ละคนและนับเลขนัยสำคัญของแต่ละตัวกัน

A → ตัวเลขความยาวของเส้นเชือกที่น้อยหนึ่งวัดได้เท่ากับ 23.05 โดยตัวเลข 1-9 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญและเลขจำนวนนี้มีเลข 0 อยู่ระหว่างเลข 1-9 แสดงว่า 0 ตัวนี้ต้องนับเป็นเลขนัยสำคัญ ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 4 ตัว

B → ตัวเลขราคาน้ำมันที่อิงกายสังเกตเห็นนั้นมีค่าเท่ากับ 10.95 โดยตัวเลข 1-9 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญและเลขจำนวนนี้มีเลข 0 อยู่ระหว่างเลข 1-9 แสดงว่า 0 ตัวนี้ต้องนับเป็นเลขนัยสำคัญ ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 4 ตัว

C → ตัวเลขผลลัพธ์ที่แก้วฟ้าคำนวณได้จากโจทย์คณิตศาสตร์มีค่าเท่ากับ 0.0758 โดยตัวเลข 1-9 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญและเลขจำนวนนี้มีเลข 0 อยู่หลังจุดทศนิยมและข้างหน้าเป็นเลข 0 จึงพิจารณาว่าเลข 0

นี้ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ ทำให้เลขนัยสำคัญของแก้วฟ้ามีค่าเท่ากับ 3 ตัว

D → ตัวเลขจำนวนเหรียญในกระปุกออมสินของผกากรองนั้นมีค่าเท่ากับ 710.50 โดยตัวเลข 1-9 จะนับเป็นเลขนัยสำคัญและเลขจำนวนนี้มีเลข 0 อยู่ระหว่างเลข 1-9 และอยู่หลังจุดทศนิยม แสดงว่า 0 นี้ต้องนับเป็นเลขนัยสำคัญเช่นกัน ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ 5 ตัว


2. กำหนดให้

ก. เชือกของเอเอ้ยาว 0.300 เมตร

ข. เชือกของโมโม่ยาว 12.025 เซนติเมตร

ค. เชือกของอันยายาว 0.0025 เมตร

ง. เชือกของซุกซนยาว 6.015 เซนติเมตร

ข้อใดต่อไปนี้เรียงลำดับจำนวนเลขนัยสำคัญของความยาวเชือกที่นักเรียนแต่ละคนวัดได้จากมากไปน้อยได้ถูกต้อง

  1. ก > ข > ง > ค
  2. ข > ง > ก > ค
  3. ค > ก > ง > ข
  4. ง > ข > ค > ก

 

เฉลย: ข้อ B

พิจารณาความยาวเชือกของแต่ละคนเพื่อระบุจำนวนเลขนัยสำคัญ ดังนี้

เชือกของเอเอ้ยาว 0.300 เมตร → เลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว (เลขที่อยู่หลังจุดทศนิยม นับเป็นเลขนัยสำคัญ)

เชือกของโมโม่ยาว 12.025 เซนติเมตร → เลขนัยสำคัญเท่ากับ 5 ตัว (เลข 0 ที่อยู่ระหว่าง 1-9 นับเป็นเลขนัยสำคัญ)

เชือกของอันยายาว 0.0025 เมตร → เลขนัยสำคัญเท่ากับ 2 ตัว (0 ที่อยู่หลังจุดทศนิยมและไม่มีเลขด้านหน้า ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ)

เชือกของซุกซนยาว 6.015 เซนติเมตร → เลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว (เลข 0 ที่อยู่ระหว่าง 1-9 นับเป็นเลขนัยสำคัญ)

ดังนั้นเมื่อทำการเรียงลำดับจำนวนเลขนัยสำคัญจากมากไปน้อย

จะได้เท่ากับ ข > ง > ก > ค

 

3. ถ้าระยะทางจากโลกไปถึงดวงจันทร์มีระยะทางเท่ากับ 3.8440 × 105 กิโลเมตร อยากทราบว่าระยะทางดังกล่าวนี้มีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่าใด
  1. 4
  2. 5
  3. 6
  4. 7

เฉลย: ข้อ B

ระยะทางจากโลกไปถึงดวงจันทร์มีระยะทางเท่ากับ 3.8440 × 105 กิโลเมตร โดยในการพิจารณาเลขนัยสำคัญของค่านี้ จะพิจารณาจากตัวเลขทั้งหมด แต่ไม่นับเลขยกกำลังฐาน 10 เป็นเลขนัยสำคัญ ดังนั้น

เลขนัยสำคัญของระยะทางจากโลกไปถึงด้วยจันทร์จะเท่ากับ 5 ตัว

 

4. ข้อใดต่อไปนี้แสดงการเขียนเลขนัยสำคัญโดยมีจำนวนเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว ไม่ถูกต้อง
  1. 10.0026 → 10.00
  2. 0.20068 → 0.2007
  3. 0.04801 → 0.0480
  4. 202.501 → 202.5

 

เฉลย: ข้อ C

เมื่อทำการพิจารณาเลขนัยสำคัญในแต่ละตัวเลือกดังต่อนี้ไป พบว่า

A → 10.0026 เมื่อต้องการเขียนให้มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว จะพบว่า ต้องทำการปัดเลขโดยพิจารณาเลข 2 ซึ่งเลข 2 นั้นน้อยกว่า 5 ทำให้ทำการตัดทิ้ง ผลลัพธ์ที่ได้เท่ากับ 10.00 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว

B → 0.20068 เมื่อต้องการเขียนให้มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว จะพบว่า ต้องทำการปัดเลขโดยพิจารณาเลข 8 ซึ่งเลข 8 นั้นมากกว่า 5 ทำให้ทำการเพิ่มค่าเลขข้างหน้าอีก 1 ผลลัพธ์ได้เท่ากับ 0.2007 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว

C → 0.04801 เมื่อต้องการเขียนให้มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว จะพบว่าเลขดังกล่าวนั้นมีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัวโดยเมื่อพิจารณาเลข 0 ที่อยู่หน้าและหลังจุดทศนิยม จะไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญเนื่องจากไม่ได้อยู่ระหว่างหรือต่อท้าย 1-9

D → 202.501 เมื่อต้องการเขียนให้มีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว จะพบว่า ต้องทำการปัดเลขโดยพิจารณาเลข 0 ซึ่งเลข 0 นั้นน้อยกว่า 5 ทำให้ทำการตัดทิ้ง ผลลัพธ์ที่ได้เท่ากับ 202.5 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว

ดังนั้น ข้อ C แสดงการเขียนเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว ไม่ถูกต้อง

 

5. ถ้านิดเดียววัดความสูงของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งมีความสูงจากพื้นจนถึงปลายยอดเท่ากับ 35.0564 เมตร หากครูกำหนดให้นิดเดียวเขียนเลขนัยสำคัญในแบบต่างๆ ข้อใดเขียนถูกต้อง
 

จำนวนเลขนัยสำคัญ

เลขที่เขียนได้

A.

2

40

B.

3

35.1

C.

4

35.05

D.

5

35.057

 

เฉลย: ข้อ B

จากโจทย์กำหนดให้ความสูงของต้นไม้ต้นหนึ่งสูงจากพื้นจนถึงปลายยอดเท่ากับ 35.0564 เมตร และเขียนแสดงตัวเลขความสูงโดยใช้หลักเลขนัยสำคัญแตกต่างกันดังนี้

A → ถ้าต้องการแสดงเลขนัยสำคัญเท่ากับ 2 ตัว แสดงว่าตัวเลขที่ต้องพิจารณาจากความสูงของต้นไม้คือเลข 0

ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดเลขหลังจากเลข 0 ทิ้งได้เลย จึงเขียนได้เป็น 35 เมตร แต่เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เขียนแสดงเท่ากับ 40 ข้อนี้จึงไม่ถูกต้อง

B →ถ้าต้องการแสดงเลขนัยสำคัญเท่ากับ 3 ตัว แสดงว่าตัวเลขที่ต้องพิจารณาจากความสูงของต้นไม้คือเลข 5 ซึ่งหลังเลข 5 ไม่เท่ากับ 0 ให้ปัดขึ้นเพิ่มอีก 1 จึงเขียนได้เป็น 35.1  เมตร เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เขียนแสดงเท่ากับ 35.1 ข้อนี้จึงถูกต้อง

C → ถ้าต้องการแสดงเลขนัยสำคัญเท่ากับ 4 ตัว แสดงกว่าตัวเลขที่ต้องพิจารณาจากความสูงของต้นไม้คือเลข 6 ซึ่งมีค่ามากกว่า 5 ให้เพิ่มค่าหน้าเลข 6 ไปอีก 1 จึงเขียนได้เป็น 35.06 แต่เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เขียนแสดงเท่ากับ 35.05 ข้อนี้จึงไม่ถูกต้อง

D → ถ้าต้องการแสดงเลขนัยสำคัญเท่ากับ 5 ตัว แสดงว่าตัวเลขที่ต้องพิจารณาจากความสูงของต้นไม้คือเลข 4

ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ตัดเลขหลังจากเลข 4 ทิ้งได้เลย จึงเขียนได้เป็น 35.056 เมตร แต่เมื่อเทียบกับตัวเลขที่เขียนแสดงเท่ากับ 35.057 ข้อนี้จึงไม่ถูกต้อง

ดังนั้น ข้อที่มีการเขียนเลขนัยสำคัญที่กำหนดให้ได้ถูกต้องคือข้อ B

 

ข้อมูลด้านล่างนี้ สำหรับคำถามข้อที่ 6-7

นกกระแต้วขายผลไม้ในตลาดแห่งหนึ่ง โดยผลไม้ของนกกระแต้วมีทั้งหมด 4 ชนิดซึ่งมีน้ำหนักที่แตกต่างกันดังนี้

แอปเปิ้ล หนักลูกละ 10.25 กรัม

ส้ม หนักลูกละ 5.5 กรัม

องุ่น หนักพวงละ 20.0 กรัม

อะโวคาโด หนักลูกละ 12.325 กรัม

6. ถ้าลูกค้าของนกกระแต้วต้องการซื้อแอปเปิ้ล 1 ลูก ส้ม 1 ลูก และองุ่น 1 พวง น้ำหนักที่นกกระแต้วต้องบอกลูกค้าตามหลักเลขนัยสำคัญคือเท่าใด
  1. 35.7 กรัม
  2. 35.75 กรัม
  3. 35.8 กรัม
  4. 36.0 กรัม

 

เฉลย: ข้อ C

น้ำหนักผลไม้ของนกกระแต้วที่ต้องทำการนำมารวมกัน ได้แก่ แอปเปิ้ล 1 ลูก หนัก 10.25 กรัม ส้ม 1 ลูก หนัก 5.5 กรัม และองุ่น 1 พวง หนัก 20.0 กรัม

เมื่อนำน้ำหนักของผลไม้ทั้ง 3 ชนิดมารวมกันจะได้เป็น 10.25 + 5.5 + 20.0 = 35.75

แต่เมื่อพิจารณาวิธีการคำนวณเลขนัยสำคัญ พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้ให้คงเหลือเท่ากับเลขทศนิยมตำแหน่งที่น้อยที่สุดคือ 5.5 ซึ่งมีทศนิยม 1 ตำแหน่ง ดังนั้น 35.75 จะต้องถูกปัดเป็น 35.8 ตามหลักการเขียนเลขนัยสำคัญ

 

7. ถ้าลูกค้าของนกกระแต้วต้องการซื้ออะโวคาโดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้นกกระแต้วผ่าเอาเมล็ดออกหลังจากนั้นนำเมล็ดมาชั่งพบว่าหนัก 8.50 กรัม อยากทราบว่าน้ำหนักของอะโวกาโด หลังจากที่นำเมล็ดออกหนักเท่าใด
  1. 3.825 กรัม
  2. 3.83 กรัม
  3. 3.82 กรัม
  4. 3.8 กรัม

 

เฉลย: ข้อ B

ลูกค้าของนกกระแต้วต้องการซื้ออะโวคาโดที่ถูกนำเมล็ดออก โดยน้ำหนักของอะโวคาโด หนักลูกละ 12.325 กรัม และหลังจากนั้นได้นำเมล็ดออกแล้วชั่งน้ำหนักเมล็ดได้เท่ากับ 8.50 กรัม เมื่ออะโวคาโดที่ถูกนำเมล็ดออกจะมีน้ำหนักเป็น 12.325 - 8.50 = 3.825 กรัม

แต่เมื่อพิจารณาวิธีการคำนวณเลขนัยสำคัญ พบว่า ผลลัพธ์ที่ได้ให้คงเหลือเท่ากับเลขทศนิยมตำแหน่งที่น้อยที่สุดคือ 8.50 ซึ่งมีทศนิยม 2 ตำแหน่ง ดังนั้น 3.825 จะต้องถูกปัดเป็น 3.83 ตามหลักการเขียนเลขนัยสำคัญ

Banner-Green-Noey

เป็นยังไงกันบ้างเพื่อน ๆ ตอบถูกกันไปกี่ข้อเอ่ย...ไม่ว่าจะได้น้อยหรือได้มาก ก็ไม่ต้องเครียดกันไปนะ เราเชื่อว่าหากเพื่อน ๆ ตั้งใจอ่านหนังสือและขยันทำข้อสอบเก่า ๆ ตั้งแต่วันนี้ ในอนาคต เพื่อน ๆ จะได้คะแนนดีกันแน่นอน


ว่าแล้วก็ไปตำบทเรียนออนไลน์วิชาเคมี ม.4 กันเถอะ คลิกอ่าน แบบจำลองอะตอมของดอลตัน และแบบจำลองอะตอมของทอมสัน กันเถอะ

แสดงความคิดเห็น