เพื่อน ๆ อาจจะเคยได้ยิน Modal Verbs เช่น will would can could มาบ้างแล้ว แต่บางทีก็แอบสับสนใช่มั้ยว่า Modal Verbs แต่ละตัวนั้นต่างกันยังไง และทำไมต้องมีคำเหล่านี้ ? วันนี้เราเลยอยากจะชวนเพื่อน ๆ มาทำความรู้จักกับ Modal Verbs และการใช้ Can / Could เพื่อบอกความสามารถกัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันได้เลย
Modal Verbs คืออะไร ?
Modal Verbs คือ กริยาช่วยที่มีความหมายในตัวของมันเอง ซึ่งจะต่างจากกริยาช่วยโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีความหมาย แต่จะมีหน้าที่แค่ช่วยให้ประโยคสมบูรณ์ขึ้นเฉย ๆ
ทำไมต้องมี Modal Verbs
Modal Verbs ช่วยเสริมความหมายของกริยาแท้ เช่น ช่วยบอกความสามารถ บอกแผนการในอนาคต ใช้ในการแนะนำ หรือ modal verbs บางคำที่ใช้สำหรับการขอร้อง ก็ช่วยให้ประโยคดูสุภาพมากขึ้น เป็นต้น
อย่างเพื่อน ๆ ที่ใช้แอปพลิเคชัน StartDee แล้วอยากบอกคนอื่น ๆ ว่า “ฉันสามารถเรียนจากที่บ้านได้นะ” เราก็จะบอกว่า “I can study at home.” โดยคำว่า ‘study’ เป็นกริยา (verb) หลัก ส่วน ‘can’ เป็นกริยาช่วย หรือ Modal Verb ที่แปลว่า ‘สามารถ’ นั่นเอง
Modal Verbs มีอะไรบ้าง
Modal Verbs ทั้ง 9 ตัว ได้แก่
Modal Verbs ใช้อย่างไร ?
รู้จักทั้ง 9 คำไปแล้ว ทีนี้เรามาดูว่า Modal Verbs มีการใช้อย่างไรบ้าง ซึ่งหลักการก็มี 2 ข้อง่าย ๆ นั่นก็คือ
1. Modal Verbs จะไม่ผันตามประธาน เช่น
ประธานเอกพจน์ : She can swim.
ประธานพหูพจน์ : They can speak English.
จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าเราจะไม่ใช้ She cans swim แม้ว่า She จะเป็นเอกพจน์ เพราะ Modal Verbs ไม่ต้องมี s / es ตามหลังนั่นเอง
2. ใช้ Modal Verbs จะต้องตามด้วย v.infinitive เสมอ ในที่นี้เพื่อน ๆ อาจจะสงสัยกันใช่ไหมว่าเจ้า v.infinitive เนี่ยคืออะไร ซึ่งคำดังกล่าวก็คือ รูปกริยาเดิมที่อยู่ในรูปปกติ ซึ่งไม่มีการเติม -s, -es, -ed, -ing ต่อท้ายนั่นเอง เช่น
Bill might play basketball after school. แปลว่า บิลอาจจะเล่นบาสเกตบอลหลังเลิกเรียน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า play ในประโยคนี้ไม่เติม s เพราะมีคำว่า might นำหน้าอยู่แล้ว แม้ว่า Bill จะเป็นประธานเอกพจน์ก็ตาม
Can / Could กับการใช้บอกความสามารถ
รู้จักกับวิธีการใช้ Modal Verbs ทั้ง 9 ตัวกันไปแล้ว วันนี้เราอยากจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับการใช้ Can และ Could เพื่อบอก ‘ความสามารถ’ กันต่อ ซึ่งมีหลักการสั้นๆ คือ
- Can ใช้บอกความสามารถทั่ว ๆ ไปใน ปัจจุบัน
- Could ใช้บอกความสามารถทั่ว ๆ ไปใน อดีต
โดยมีโครงสร้างประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม ดังนี้
1. ประโยคบอกเล่า (Affirmative Form)
- can / could หมายถึง สามารถ
- โครงสร้างประโยค :
ประธาน + can / could + v.infinitive เช่น
Jane can play basketball. แปลว่า เจนสามารถเล่นบาสเกตบอลได้ (ปัจจุบัน)
Jane could play basketball. แปลว่า เจนสามารถเล่นบาสเกตบอลได้ (ในอดีต)
2. ประโยคปฏิเสธ (Negative Form)
- can / could หมายถึง ไม่สามารถทำได้
- โครงสร้างประโยค :
ประธาน + cannot / can’t + v.infinitive เช่น
could not / couldn’t
Noon cannot / can’t play basketball. แปลว่า นุ่นไม่สามารถเล่นบาสเกตบอลได้ (ปัจจุบัน)
Noon could not / couldn’t play basketball. แปลว่า นุ่นไม่สามารถเล่นบาสเกตบอลได้ (ในอดีต)
3. ประโยคคำถาม (Question Form)
- can / could หมายถึง ใครสามารถทำอะไรได้
- โครงสร้างประโยค :
Can / Could + ประธาน + v.infinitive ? เช่น
Can Bow count in English ? แปลว่า โบว์สามารถนับเลขภาษาอังกฤษได้ไหม (ปัจจุบัน)
Could Bow count in English ? แปลว่า โบว์สามารถนับเลขภาษาอังกฤษได้ไหม (ในอดีต)
สำหรับบทเรียนนี้ เพื่อน ๆ ก็ได้รู้จัก Modal Verbs ในแบบต่าง ๆ และวิธีการใช้ Can / Could เพื่อบอกความสามารถกันไปแล้ว ซึ่งนอกจากในบทเรียน เพื่อน ๆ ก็สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน (แต่ถ้าไม่รู้จะพูดกับใคร ลองคิดเป็นประโยคในใจ ส่งกระแสจิตมาหาเราได้นะ อิอิ) และถ้าใครอยากจะทบทวนหรือเรียนรู้เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษ ก็สามารคลิกเข้าไปอ่านบทความสอนโดยไม่สอน! ห้องเรียนภาษาอังกฤษที่ไม่ใช้(ตำรา) ภาษาอังกฤษในการสอน และอย่าลืมโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาไว้เป็นเพื่อนคู่ใจทางการศึกษา บอกเลยว่าเติมความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาเลยล่ะ